top of page

รักษาผมบาง ผมร่วง เสริมความมั่นใจ

       ภาวะผมบางและผมร่วงเป็นปัญหาใหญ่ มีผลเสียต่อบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจ และดูอายุเกินวัย อาจมีสาเหตุจากการขาดสารอาหารและภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ปัญหานี้พบได้ในวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่

 

       สาเหตุของผมร่วงเกิดจากหลายปัจจัย รวมทั้งภาวะผมร่วงตามพันธุกรรม การทานยาบางชนิด โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ

แพ้สารเคมีบางชนิดหรือแพ้แชมพูสระผม ขาดสารอาหารบางอย่าง หรือน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ต่อมไธรอยด์ทํางานมากหรือ

น้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ อาการผมร่วงมากผิดปกติสามารถลดปัญหาผมร่วงให้น้อยลงได้ เพียงแต่ต้องศึกษาอาการเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการผมร่วงที่แน่นอนและละเอียดรอบคอบ ก่อนเริ่มต้นรักษาได้อย่างถูกต้อง

     

 โดยมีสาเหตุหลักใหญ่ 2 ประการ คือ

 

       1.ผมร่วงจากโรคเชื้อราที่ศีรษะ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก บางครั้งอาจพบในผู้ใหญ่ได้ ควรรับประทานยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟุลวิน ซึ่งอาจต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์

       2. ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ พบในเพศชายเป็นส่วนใหญ่ทำให้ผมบางลงมากบริเวณกลางศีรษะ และหน้าผาก อาการผมบางยังพบในผู้หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือนด้วย

ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีการแก้ปัญหาผมร่วงที่ได้ผลเต็มร้อย แต่ก็มีหลากหลายแนวทาง ดังนี้

 

       1. ยารักษาที่นิยมใช้ทาเพื่อกระตุ้นให้ผมเกิดใหม่ และชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม เช่น Dutasteride, Finastericde และ Minoxidill ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีผลข้างเคียงต่อร่างกายด้วย เมื่อหยุดใช้ยา อาการผมร่วงจะกลับมาอีก อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าเพื่อบรรเทาอาการผมร่วง พร้อมชะลอหรือป้องกันไม่ให้ผมเดิมหลุดร่วงมากขึ้น

       2. บำรุงด้วยอาหาร การลดน้ำหนักแบบผิดวิธีโดยการลดอาหารประเภทโปรตีนเป็นสาเหตุให้เส้นผมเปราะบางและ

หลุดร่วงง่าย เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อเส้นผมมาก จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และมีประโยชน์ครบถ้วน เสริมวิตาในและเกลือแร่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่ และงดอาหารที่ใส่ผงชูรส

       3. ควรเลือกใช้แชมพูและครีมนวดผมชนิดอ่อน และเหมาะกับสภาพเส้นผม ไม่ควรสระผมด้วยน้ำอุ่นที่ทำลายความชุ่มชื้น เส้นผมมีสภาพอ่อนแอ แห้งแตกปลาย ผมหลุดร่วงง่าย และหนังศีรษะแห้ง ไม่ควรใช้ผ้าขนหนูเช็ดผมแรงหรือหวีผมแรงขณะที่เส้นผมยังเปียกอยู่ เพื่อช่วยถนอมเส้นผมไม่ให้โปรตีนถูกทำลาย ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เช่น การย้อมสีผม การยืดผม ทั้งหมดนี้จะช่วยลดปัญหาผมร่วงที่เกิดขึ้นได้

       4. เสริมด้วยฮอร์โมน หรือวิตามินและแร่ธาตุ ปัญหาผมร่วงเพราะภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำควรได้รับฮอร์โมน

ไทรอยด์เสริม หากผมร่วงเป็นหย่อม ก็สามารถแก้ไขด้วยการฉีดหรือทาสเตียรอยด์ หากผมร่วงเนื่องจากขาดวิตามินหรือธาตุเหล็ก สามารถให้วิตามินหรือธาตุเหล็กเข้าไปทดแทน

5. เทคนิคการทำทรีตเมนต์เส้นผม การผลักยาและวิตามินภายใต้การดูแลของแพทย์อาจช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่ของผม เช่นเดียวกับการรับประทานยาร่วมกับยานวดหนังศีรษะกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผม

6. แพทย์อาจแนะนำให้ใช้แสงกระตุ้นเส้นผม ช่วงคลื่นแสงสีแดงมีประสิทธิภาพด้านการชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม กระตุ้นผมเกิดใหม่ให้แข็งแรงขึ้น หรือการใช้เลเซอร์กระตุ้นสเต็มเซลล์ของผมโดยตรง หรือการฉีดยาเพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผมเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมและผมงอกใหม่ได้จริง รวมไปถึงศัลยกรรมปลูกผมโดยใช้รากผมจริงที่จะยังคงเหลืออยู่ ไปปลูกบริเวณที่ผมบาง

       วิธีการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาเพื่อให้เกิดการงอกใหม่ของรากผมโดยธรรมชาติ และเสริมรากผมเดิมให้

แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย

เรียบเรียงและเขียนโดย SC Skinclub (ไม่อนุญาตให้คัดลอกเนื้อหาไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด)

     Mr.SC

BeautyGuru

bottom of page