Acupuncture & Cupping (ฝังเข็ม ครอบแก้ว)
“不通则痛,通则不通” (ปู้ทงเจ๋อท่ง ทงเจ๋อปู๋ท่ง) คือ การไหลเวียนที่ไม่สะดวกก่อให้เกิดความเจ็บปวด เมื่อไหลเวียนสะดวกแล้วจะไม่เกิดความเจ็บปวดขึ้น “不通则痛,通则不通” คำจำกัดความภาษาจีนอันแสนเรียบง่าย แท้จริงแล้วนั้นกลับแฝงไปด้วยความหมายอันทรงคุณค่า และเป็นหนึ่งในที่มาของแนวความคิดในการรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การครอบแก้ว (Cupping) เป็นการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนอีกวิธีการหนึ่ง ที่นิยมใช้ในกลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่นปวดบ่าไหล่ ปวดหลัง ปวดขา อาจนอกเหนือหรือควบคู่การฝังเข็ม โดยการครอบแก้ว (Cupping) นั้นจะมุ่งเน้นให้เกิดการไหลเวียนของเลือดและลมปราณ เพื่อบรรเทาและลดอาการปวด ขจัดความเย็นชื้น เป็นหลัก ในปัจจุบันการครอบแก้ว (Cupping) กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายมากมาย แม้กระทั่งดาราฮอลลิวูดที่มีชื่อเสียง ต่างก็ให้ความนิยมการทำครอบแก้ว
ขั้นตอนการทำครอบแก้ว แพทย์แผนจีนจะทำการวางแก้วลงบนจุดในเส้นลมปราณหรือตำแหน่งที่ต้องการลงบนผิวหนัง โดยใช้ความร้อนไล่อากาศภายในถ้วยแก้วเพื่อทำให้เกิดภาวะสูญญากาศขึ้น ในขณะที่วางแก้วไว้เกิดการหมุนเวียนเลือดและชี่(ลมปราณ) มีการขยายตัวของหลอดเลือด ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 5-15 นาที เมื่อนำแก้วออกอาจมีรอยจ้ำแดงคล้ำเกิดขึ้น ซึ่งรอยนี้ไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด และจะจางหายไปเองได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์
การฝังเข็ม (จีน: 針灸; อังกฤษ: Acupuncture)
เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มสามารถระงับอาการเจ็บปวด ช่วยเรื่องภาวะมีบุตรยากแม่แบบ:หรือ ภาวะไม่เจริญพันธุ์ ป้องกันโรคบางชนิด รวมถึงเสริมสุขภาพ การฝังเข็มเป็นแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนจีน ซึ่งสามารถสืบย้อนประวัติได้ยาวนานหลายพันปี[ต้องการอ้างอิง] และยังมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย
การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกายของทั้งมนุษย์และสัตว์ ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิง ขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะมีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลักและอีก 2 เส้นรอง จำนวนเส้นลมปราณในร่างกายแต่ละข้าง (ขวา-ซ้าย) มี 12 เส้น โดยแบ่งเป็นส่วนของแขน 6 เส้น และส่วนของขาอีก 6 เส้น (ส่วนอีก 2 เส้นรองจะอยู่ตรงกลางหลังและตรงกลางหน้าท้อง) ในส่วนของแขน 6 เส้น ก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ เช่นเดียวกับขาก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ แต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่ของมันอย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่าง 2 เส้นใน 6 เส้นบนแขน เส้นของปอดและ ลำไส้ใหญ่ โดยเส้นของปอดจะสิ้นสุดที่ข้างหัวนิ้วโป้ง ส่วนเส้นของลำไส้ใหญ่ จะเริ่มบริเวณด้านข้างปลายนิ้วชี้ทั้ง2เส้น นี้คือเส้นของปอดและลำไส้ใหญ่จะ สัมพันธ์กันแบบภายนอกและภายใน เป็นแบบ External & Internal relationship เส้นของปอดมีชื่อเรียกว่า เส้นไท่อินปอด (Taiyin lung meridian) เส้นของลำไส้ใหญ่มีชื่อเรียกว่า เส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ (Yangming large intestine meridian) ในเส้นลมปราณแต่ละเส้น จะมีจุดฝังเข็ม (Acupunture points) หลายจุดจำนวนแตกต่างกันไปมากบ้าง น้อยบ้าง เช่น บนเส้นไท่อินปอดจะมีอยู่ 11 จุด บนเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่จะ มีอยู่ 20 จุด แต่ละจุดก็จะมีชื่อเรียกของตัวเองทุกจุดชื่อของจุดจะแตกต่าง กันออกไป และทุกชื่อก็จะมีความหมายของตัวเอง ชื่อทั้งหมดเป็นชื่อในภาษาจีนกลาง เช่นจุดที่บริเวณด้านข้าง ปลายนิ้วโป้งของเส้นไท่อินปอด มี ชื่อเรียกว่า จุดเซ่าซาง (Shao Shang) หรือจุดแรกของเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ ที่ปลายนิ้วชี้ด้านข้างมีชื่อว่าจุดซางหยาง (Shang Yang) สำหรับคนต่างชาติการจะไปจำชื่อจุด ฝังเข็มนับร้อยจุดเป็นชื่อจีนกลางเป็นเรื่องยาก ทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดรหัสขึ้นมาแทนชื่อจุดเหล่านั้น เช่นจุดเซ่าซางมีรหัสเป็น LU-11 จุดซางหยางมีรหัสเป็น LI-1 เป็นต้น
"การเตรีมตัวก่อนการรักษา" 1.สวมใส่เสื้อผ้าที่แยกเสื้อส่วนบน กับกางเกงหรือกระโปรงส่วนล่าง เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม 2.หากฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องรวบผมขึ้นให้เรียบร้อย เพราะการฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องใช้ความแม่นยำให้การฝังเป็นอย่างมาก 3.ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องเครียด เพราะความเครียดจะทำให้โลหิตหมุนเวียนไม่ดี 4.ชำระร่างกายให้สะอาด